กาแฟอาราบิก้าเป็นต้นพันธุ์กาแฟที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะมีรสชาติหอมหวนอร่อยนุ่มนวลกลมกล่อมมากที่สุดในโลก และมีกลิ่นหอมกรุ่นอบอวล
กาแฟนั้นมีอยู่มากมายหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ที่นิยมมาบริโภค และส่งผลต่อเศรษฐกิจมีอยู่สองสายพันธุ์ คือ
1. กาแฟอราบิก้า (Arabica: Coffea Arabica)
2. กาแฟโรบัสต้า (Robusta: Coffea Robusta)
กาแฟอราบิก้า มีความพิเศษที่กลิ่นและรสที่หอมหวนเป็นที่ถูกใจคนทั่วโลก แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมถึงจะได้เมล็ดกาแพที่สุดยอด แต่ต้นกาแฟไม่ทนต่อโรคและความผันผวนทางสภาพอากาศ (กลัวน้ำค้างแข็ง) ต้นกาแฟมีลักษณะเหมือนพืชจำพวกมะลิ พุดซ้อน ซึ่งชอบดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง
2. กาแฟโรบัสต้า (Robusta: Coffea Robusta)
กาแฟอราบิก้า มีความพิเศษที่กลิ่นและรสที่หอมหวนเป็นที่ถูกใจคนทั่วโลก แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมถึงจะได้เมล็ดกาแพที่สุดยอด แต่ต้นกาแฟไม่ทนต่อโรคและความผันผวนทางสภาพอากาศ (กลัวน้ำค้างแข็ง) ต้นกาแฟมีลักษณะเหมือนพืชจำพวกมะลิ พุดซ้อน ซึ่งชอบดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง
อราบิก้ามีสายพันธุ์ย่อยอีกหลายสายพันธุ์เช่น
- ทริปปิก้า
- เบอร์เบิ้ล
- คาทูร่า
- คาติมอร์ เกิดจากการผสมลูกครึ่ง คาทูร่า-โรบัสต้า เข้ากับ คาทูร่า จนได้ลูกผสม 75% คาทูร่า – 25% โรบัสต้า มีรสชาติใกล้เคียงกับสายพันธุ์บริสุทธิ์อราบิก้า แต่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและโรคราสนิมเหมือนโรบัสต้า
- อารูซา อาราบิก้า เป็นพันธุ์กาแฟของ ประเทศปาปัวนิวกินี
- โมคะ อาราบิก้า จาก เยเมน ซึ่งเป็นเทศนี้มีท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อซื้อขายกาแฟ และโกโก้นั้นคือท่าเรื่อ มอคค่า ดังนั้น การดื่มกาแฟของที่นั้นจึงผสมโกโก้ด้วย
- บูลเมาท์เทน เป็นพันธุ์กาแฟของ ประเทศจาเมกา, เคนยา, ฮาวาย
- บูร์บง อาราบิก้า เป็นเมล็ดพันธุ์กาแฟจากฝรั่งเศสที่ปลูกบนเกาะ “บูร์บง” และยังมีมากในลาตินอเมริกาอีกด้วย
กาแฟอาราบิก้า
ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea arabica L. ในโลกมีผลผลิตของเมล็ดกาแฟมากว่าหกล้านตัน ทั้งหมดนี้เป็นเมล็ดกาแฟอาราบิก้ามากกว่าถึง 70% ที่เหลือเป็นเมล็ดกาแฟโรบัสต้าและพันธุ์อื่น ๆกาแฟอาราบิก้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนพื้นที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย (อะบิสซีเนีย เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 – 9 องศาเหนือ แต่อาจพบต้นกาแฟอาราบิก้า ตรงช่วงรอยต่อบนภูเขาระหว่างเอธิโอเปียกับซูดาน และเอธิโอเปียกับเคนยา ในเอธิโอเปียสามารถพบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญงอกงามอยู่ทั่วไป ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนพื้นที่สูง ระหว่าง 1,370 -1,830 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพอากาศในแถบนั้น ค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี อยู่ระหว่าง 15 – 24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,900 มิลลิเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนสีแดง มีหน้าดินลึก สภาพอากาศโดยทั่วไปในแถบนี้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งมีพร้อมๆ กับฤดูหนาว
ในยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัชท์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ
ในประเทศไทย พระสารศาสตร์พลขันธ์ ชาวอิตาลี ที่มารับราชการในประเทศไทย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มาปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ 2393 มีชื่อเรียกกาแฟสมัยนั้นว่า “กาแฟจันทบูร” ต่อมาในปีพ.ศ. 2500 กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าหลายสายพันธุ์ จากประเทศบราซิล มาปลูกไว้ตามสถานีต่างๆของกรมกสิกรรมในภาคเหนือ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 มูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ผสมขึ้นมา เพื่อความต้านทานโรคราสนิมจากประเทศโปรตุเกส มาปลูกไว้ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมชาวไทยภูเขา ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นบนภูเขาในภาคเหนือ
ในยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัชท์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ
ในประเทศไทย พระสารศาสตร์พลขันธ์ ชาวอิตาลี ที่มารับราชการในประเทศไทย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มาปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ 2393 มีชื่อเรียกกาแฟสมัยนั้นว่า “กาแฟจันทบูร” ต่อมาในปีพ.ศ. 2500 กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าหลายสายพันธุ์ จากประเทศบราซิล มาปลูกไว้ตามสถานีต่างๆของกรมกสิกรรมในภาคเหนือ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 มูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ผสมขึ้นมา เพื่อความต้านทานโรคราสนิมจากประเทศโปรตุเกส มาปลูกไว้ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมชาวไทยภูเขา ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นบนภูเขาในภาคเหนือ
กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก มูลค่าการซื้อขายในตลาดโลก เป็นลำดับที่สอง รองจากน้ำมันปิโตเลียม รายได้ของประชากร มากกว่า 50 ประเทศ ขึ้นอยู่กับกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแอฟริกา กาแฟอาราบิก้าส่วนใหญ่ จะปลูกกันมากในประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า กัวเตมาลา เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ฯ ในทวีปแอฟริกาประเทศที่ปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย แต่เป็นปริมาณที่ยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ ของโลก
เมล็ด กาแฟอาราบิก้า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้รสชาติและกลิ่นหอม อยู่หลายปัจจัยเช่น สายพันธุ์ที่ปลูก ชนิดของดิน สภาพแวดล้อม ความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ซึ่งจะเกี่ยวข้องในเรื่องอุณหภูมิ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และ กรรมวิธีปรุงรส เมล็ดกาแฟอาราบิก้า สามารถนำมาผลิต กาแฟคั่วบด (roasted coffee) และ กาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) แต่ส่วนใหญ่นิยมนำมาผลิตกาแฟคั่วบด เพราะจะให้กลิ่นหอมและรสชาติที่ดีเวลาดื่ม ในเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มีองค์ประกอบทางเคมีของสารประกอบจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ สารคาเฟอีน (caffeine) ในเมล็ดกาแฟอาราบิกา มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 1.5 แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกด้วย สารคาเฟอีนในกาแฟ เมื่อดื่มเข้าไปจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่มีบางกระแสเตือนว่า สารคาเฟอีมีบทบาทต่อการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจจะมีผลต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล ที่แพร่หลายในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก แต่จะดื่มได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน อาจจะขึ้นอยู่กับความเคยชิน และสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล
เมล็ด กาแฟอาราบิก้า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้รสชาติและกลิ่นหอม อยู่หลายปัจจัยเช่น สายพันธุ์ที่ปลูก ชนิดของดิน สภาพแวดล้อม ความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ซึ่งจะเกี่ยวข้องในเรื่องอุณหภูมิ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และ กรรมวิธีปรุงรส เมล็ดกาแฟอาราบิก้า สามารถนำมาผลิต กาแฟคั่วบด (roasted coffee) และ กาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) แต่ส่วนใหญ่นิยมนำมาผลิตกาแฟคั่วบด เพราะจะให้กลิ่นหอมและรสชาติที่ดีเวลาดื่ม ในเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มีองค์ประกอบทางเคมีของสารประกอบจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ สารคาเฟอีน (caffeine) ในเมล็ดกาแฟอาราบิกา มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 1.5 แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกด้วย สารคาเฟอีนในกาแฟ เมื่อดื่มเข้าไปจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่มีบางกระแสเตือนว่า สารคาเฟอีมีบทบาทต่อการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจจะมีผลต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล ที่แพร่หลายในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก แต่จะดื่มได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน อาจจะขึ้นอยู่กับความเคยชิน และสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล
ผลของกาแฟพันธุ์อาราบิก้านั้น เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ก็มีความเป็นกรดสูงเดียวเช่นกัน ในหนึ่งผลกาแฟจะมีเมล็ดกาแฟอยู่ 1 คู่ หรือ 2 เมล็ด แต่ถ้าหนึ่งผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เขาจะเรียกผลกาแฟชนิดนี้ว่าเป็นผล “พีเบอร์รี่”ซึ่งถือว่าเป็นเมล็ดกาแฟชั้นดีเยี่ยม ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดกาแฟตั้งแต่ 4 เมล็ดขึ้นไป ซึ่งหาได้น้อยมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น