รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ
-
ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่
-
เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
-
เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
-
เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
-
ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง
การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้
1.
คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
2.
ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และขั้นตอนการอพยพ
3.
เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา
อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง
5.
ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย
แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้
6.
นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
7.
ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
8.
บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย
9.
รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
10.
ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด
ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
11. เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน
เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง
เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
12.
ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย
และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ
ถ้าคุณคือพ่อแม่
:
· ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม
เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
· ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
· ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่
· เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
· จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
· ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน
การทำแผนรับมือน้ำท่วม
การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม
จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย
เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้
พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน
เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ
ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย
-
สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน
-
รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง
โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณ
บ้าน
และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง
-
เมื่ออพยพออกจากบ้าน
ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า
คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร
-
เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย
และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ
ถ้าคุณมีเวลามาก
หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ
-
ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม
-
อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน
พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้
-
ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม
หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิด
อุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้
ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็น
ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์
เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน
-
ปิดถังแก๊สให้สนิท
-
จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ
-
ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ
-
เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น