1. ใช้ขับเหงือ ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ
โดยใช้กระเทียมสดครึ่งกิโลกรัม ทุบพอแตก แช่ในน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ประมาณ 1 สัปดาห์
รับประทานครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง
2. ใช้ขับลมในกระเพาะอาหาร
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โดยใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย
กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร
3. ใช้รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง
โดยใช้กระเทียมสดปอกเปลือก นำมาทุบหรือฝานทาในบริเวณที่เป็นแผล
4. ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อรา
เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด
โดยใช้น้ำที่คั้นจากกระเทียมสดทาบริเวณที่เป็น
5. ลดอาการปวดฟันจากฟันผุ
โดยใช้กระเทียมสดสับละเอียดทุกฟันที่ผุ
6. ใช้รักษาอาการปวดหู หูอื้อ หูตึง
โดยใช้น้ำกระเทียมหยอดหูประมาณ 1-2
หยด วันละ 3-4 ครั้ง
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ข้อสังเกตและข้อควรระวัง
2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว
เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี
3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น
การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น
ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม
4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง
ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง
สรุปประโยชน์และวิธีใช้กระเทียม
รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน, โรคผิวหนังที่ติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย
โดยใช้กระเทียมบดพอก
หรือกระเทียมฝานทาได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับทางวงการวิทยาศาสตร์ว่ากระเทียมมีสารเคมีหรือน้ำมัน
กระเทียมฆ่าเชื้อราได้ดีพอ ๆ กับยาปฏิชีวนะหลายชนิด
หรือดีกว่ายาปฏิชีวนะบางอย่างเพราะยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถฆ่าเชื้อได้เฉพาะเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
การสกัดเอาน้ำมันกระเทียมให้บริสุทธิ์แล้วผสมครีมหรือขี้ผึ้งทำเป็นลักษณะครีมหรือบาล์ม
อาจจะได้ผลดีมากคือช่วยให้มีการซึมซาบได้ยิ่งขึ้น
รักษาโรคภายใน
ตามความเชื่อแผนโบราณเชื่อว่ารักษาโรคบิด โรคท้องร่วง ขับน้ำได้ ขับพยาธิและพยาธิเส้นด้าย
รักษาวัณโรค (นิวโมเนีย) ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ ขับลม
แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ยาขับพยาธิในช่องท้อง ยาลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคหืด หอบ
โรคประสาท มะเร็ง และโรคต่าง ๆ อีกมากมาย
แต่เท่าที่ได้มีรายงานจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่ากระเทียมรักษาโรคภายในดังนี้คือ
ลดความดันโลหิตสูงที่เกิดจากไขมันอุดตันหลอดเลือด
เนื่องจากมีสารละลายไขมันในเส้นเลือด รับประทานเป็นประจำ 15 วัน ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงขณะรับประทานกระเทียมเป็นประจำควรจะมีการตรวจความดันโลหิตก่อน
มีสารเป็นตัวนำของวิตามินบี1
เข้าสู่ทางเดินอาหารได้ดีเพื่อทำให้วิตามินบี1 นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน (Allithiamin) ทำให้วิตามินบี1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
และสารอัลลิซัลไฟด์จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมของวิตามินบี1 ในลำไส้ดีขึ้นเท่าตัว
ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของผนังกระเพาะลำไส้
ป้องกันโรคท้องผูกและขับลมในกระเพาะลำไส้
ป้องกันการเป็นวัณโรคหรือนิวโมเนียได้
สำหรับผู้ที่รับประทานกระเทียมสดเป็นประจำ
เนื่องจากขณะที่รับประทานกระเทียมสารมีกลิ่นกระเทียมจะระเหยออกมาทางลมหายใจ ทางปอด
สารนี้จะไปทำลายเชื้อโรคที่ทางเดินหายใจก่อนที่เชื้อจะเข้าสู่ปอด แก้ไอ ขับเสมหะ
ป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร
มีกลไกเช่นเดียวกับป้องกันวัณโรค คือ
จากสารที่ได้จากกระเทียมจะเข้าไปยับยั้งหรือฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่ติดเข้าไปกับอาหาร
ความเข้มข้นของน้ำมันกระเทียมเพียง
0.001%
สามารถฆ่าเชื้ออหิวาต์และไทฟอยด์ในหลอดทดลองได้
เมอร์แคปแตน
(mercaptan) เป็นสารกำมะถันอินทรีย์ที่อยู่ในกระเทียม
ช่วยทำให้เนื้อและโปรตีนที่ทำลายยาก เช่น โปรตีนจากไข่ขาว นม
ละลายและดูดซึมในลำไส้ได้ง่ายขึ้น
น้ำคั้นจากกระเทียมบดผสมน้ำอุ่น
5 เท่า ผสมเกลือเล็กน้อย
อมกลั้วคอฆ่าเชื้อในปากและลำคอได้
ในอินเดียใช้กระเทียมโขลกสระผมช่วยป้องกันผมหงอก
นอกจากนี้กระเทียมยังมีไอโอดีนเช่นเดียวกับสาหร่ายทะเล หอยต่าง ๆ กุ้ง
น้ำมันตับปลา สับปะรด
น้ำคั้นกระเทียมผสมน้ำเชื่อมรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
ขับเสมหะ บรรเทาอาการไข้หวัดเจ็บคอ น้ำมูกไหล และอาการไอ
กระเทียมบดห่อด้วยผ้าขาวบางวางบริเวณริมฝีปากที่เกิดการอักเสบ
8-10 ชั่วโมง อาการจะบรรเทา
จะรับประทานกระเทียมอย่างไรดีให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
คนที่ไม่ชอบกลิ่นกระเทียมหรือไม่ได้รับประทานกระเทียมทุกวัน
การรับประทานแคปซูล กระเทียมเป็นอาหารเสริมก็ให้ประโยชน์เช่นกัน
ให้เลือกบริษัทผู้ผลิตกระเทียมที่เชื่อถือได้และควรมีฉลากระบุสารต่างๆ ในนั้นด้วย
ให้ถามว่ามีการนำกระเทียมที่ผลิตได้นั้นไปทำการทดลอง
ด้วยหรือเปล่าและมีการตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารอะไรบ้าง
ยาเม็ดกระเทียมไม่ใช่กระเทียมสดแต่มีส่วนประกอบ
ใกล้เคียงกับกระเทียมสด
ปริมาณการบริโภคต่อวันขึ้นกับรูปแบบของการผลิต
การใช้รักษาโรคควรเท่ากับหัวกระเทียมสด 4 กรัม, หรือ 600-1200 มก. ของ aged garlic, 2-5 มก. ของน้ำมันกระเทียม (garlic oil)
อาหารเสริมจากกระเทียมควรผลิตโดยวิธีที่ไม่ทำลาย
สารธรรมชาติของมันจะได้ประโยชน์เทียบเท่ากระเทียมสด เทคนิคการผลิตวิธีใหม่ที่เรียก
aged garlic จะช่วยลดกลิ่น และสารอื่นๆ
ที่ไม่ต้องการออกไป ขณะเดียวกันก็ทำให้คุณภาพคงทน หรือไม่สูญสลายไปหมด
มีแพทย์คนหนึ่งซึ่งสนใจการรักษาโดยพืชสมุนไพรชื่อ JAMES DUKE, Ph.D. ได้วิจัยพบว่า กระเทียมมีสารประกอบ
รวมกันถึง 202 ชนิด เขาบอกว่า
"เราไม่ต้องไปหาสรรพคุณอื่นใด มาเพิ่มเติมอีก (ในการรักษาด้วยสมุนไพร)
นอกจากพยายามคงสภาพ ของมันไว้ให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง"
กระเทียมมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
จึงมีผู้ผลิตกระเทียม ออกวางจำหน่ายในรูปยาเม็ดหลายๆ บริษัทด้วยกรรมวิธี
การผลิตแตกต่างกันออกไป ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การสกัดกระเทียมด้วยวิธีความร้อน, เย็น ก็จะได้สารออกมาไม่เหมือนกัน
หรือแม้แต่การสกัดกระเทียมด้วยน้ำหรือน้ำมัน ก็จะได้ตัวยา ออกมาแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนซื้อผลิตภัณฑ์จากกระเทียม
ควรต้องเลือกดูให้ดีๆ มิฉะนั้น จะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
ควรเลือกบริษัทผู้ผลิตที่มีการนำยาที่ผลิตไปทดลองมาก่อน
และได้ผลการทดลองออกมาเชื่อถือได้เท่านั้น
วิธีปลูก
การเก็บกระเทียมจากแหล่งผลิต
(การเก็บเกี่ยว) เพื่อการตรวจสอบเอกลักษณ์ ควรเก็บเมื่อกระเทียมมีอายุระหว่าง 100 - 120 วัน
เพราะระยะนี้เป็นระยะที่กระเทียมจะให้สารที่เป็นประโยชน์ได้เต็มที่
ถ้าปล่อยไว้เกินกว่านั้นถึง 130
วัน จะเหมาะสำหรับนำไปทำพันธุ์มากกว่า
วิธีเก็บขึ้นจากไร่จะใช้ขุดหรือถอนจากดินสุดแต่จะสะดวก
ข้อสำคัญต้องไม่ให้หัวกระเทียมช้ำ แล้วนำไปล้างน้ำทำความสะอาดให้ดินออกให้หมด
เตรียมผึ่งให้แห้งเก็บไว้ตรวจสอบ
การทำให้หัวกระเทียมแห้งและการรักษา
โดยปกติการทำให้พืชสมุนไพรแห้งเป็นการช่วยในการเก็บรักษาและป้องกันการเกิดเชื้อรา
ทั้งต้องมุ่งถนอมสารในพืชสมุนไพรมิให้สลายตัวหรือระเหยไปได้
นำหัวกระเทียมสดทั้งต้นมาผึ่งแดด
โดยไม่ให้หัวกระเทียมถูกแดดที่ร้อนจัดแต่ให้ต้นและใบกระเทียมเท่านั้นแห้งก่อน
ด้วยการนำต้นกระเทียมมาเรียงซ้อนกันเป็นแถวให้หัวกระเทียมซ่อนอยู่ด้านใน
ปล่อยให้ต้นและใบตากแดดไว้ประมาณ 4-5 วัน เมื่อเห็นว่าต้นและใบแห้งดีแล้ว จึงนำมามัดไว้เป็นมัด ๆ
และนำมัดกระเทียมแต่ละมัดแขวนไว้ในที่ร่ม โปร่งเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้
แต่ต้องเป็นที่แห้งไม่มีลมพัดผ่านมาก เป็นที่ที่มีความชื้นไม่เกิน 10%
เอกสารอ้างอิง
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ มติชน สุดสัปดาห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น