มะละกอพันธ์เรดมาราดอร์ เป็นพันธุ์มาจากประเทศเม็กซิโก มีผลผลิตออกตลอดปี และตลาดมีความต้องการสม่ำเสมอ มีรสชาติดี เนื้อมีสีสวย ไม่มีกลิ่นยาง และมีเนื้อแข็งกว่ามะละกอพันธุ์อื่นๆ ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตสูง
การเพาะกล้ามะละกอ
1. เตรียมดินที่นำมาเพาะชำถ้าให้ดีควรเป็นดินขุยไผ่ ดินที่อยู่ใต้โคนไผ่มีสารอาหารที่เหมาะแก่การปลูกมะละกอมาก ดินดี ร่วนซุย ดินไม่เกาะกัน รากของมะละกอสามารถเดินได้สะดวก
2. นำเมล็ด 3 เมล็ดใส่ถุงเพาะชำ กลบดินนิดหน่อย รดน้ำเช้าเย็น
3. ผ่านไป 10-14 วัน จะแตกใบเลี้ยงขึ้น 2 ใบ
4. ดูแลอีก 45 วัน สามารถย้ายลงไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้
การเตรียมแปลง
ไถพรวนดิน
ตากดิน ไว้ 7 วัน
กำจัดฆ่าวัชพืช
เชื้อราในดิน ใส่ปุ๋ยคอก 30 กิโลกรัมแกลบเหลือง 30 กิโลกรัมต่อไร่แล้วไถพรวนอีก 1
ครั้งยกร่องเป็นแนวตาข่ายร่องระบายน้ำรอบต้นป้องกันน้ำท่วมขังราก
หลังจากที่ปลูกลงดิน
1
อาทิตย์ต้องมีการไถพรวนดินรอบโคนต้นกำจัดวัชพืช
ให้น้ำทุกๆ
5 วัน
การลงทุนต่อไร่นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 15,000 บาทต่อไร่
เข้าสัปห์ดาที่
2 หลังปลูกให้เริ่มใส่ปุ๋ย 15-15-15 เป็นการเร่งการเจริญเติบโต
ใส่รอบโคนต้น 1 หยิบมือต่อต้น
สังเกตตามความกว้างของทรงพุ่มใบ
ประมาณ 2 เมตรเพราะรากนั้นออกมายาวถึง 2 เมตร
บำรุงอีกเดือนละครั้ง
หลังจากนั้นเข้าเดือนที่.2 เปลี่ยนปุ๋ยเป็น 8-24-24 บำรุงดอก บำรุงผล
และช่วงออกดอกต้องสังเกตดอกด้วย
เพราะดอกจะออกมา 2 เพศ เพศเมีย และเพศกระเทย
จะเก็บไว้เฉพาะดอกกระเทยเท่านั้น
ดอกเมียโตเป็นผลเพศเมียราคาตก
เก็บไว้จะแย่งอาหารผลกระเทยผลอื่นๆ
การสังเกตดอกเมียดอกเมียนั้นจะเป็นเกรียวๆ
บานๆ หัวแหลม ส่วนดอกกระเทยจะหัวกลมๆคล้ายหัวไม่ขีด กลีบไม่บานมาก
จากนั้นเข้าเดือนที่
4 ขึ้นไปให้ปุ๋ยขี้ไก่ 15 กิโลกรัมต่อต้นช่วยดึงความชื้น
ดินไม่แน่นเกินไปดูดซับน้ำและอาหารได้ดีสังเกตว่าเป็นต้นตัวเมีย หรือต้นกระเทย
และต้นเป็นโรค ถ้ามีต้นเมียก็ทำการถอนทิ้ง ปล่อยไปจะเกิดเป็นผลเพศเมียทั้งต้น
ราคาไม่ดี
และอีกปัญหาที่ต้องถอนทิ้งเนื่องจากว่าเกิดเชื้อราซึ่งปัญหามาจากปลูกซ้ำพื้นที่เดิมจาการปลูกพืชชนิดอื่นผ่านการใช้สารเคมีมาก่อน
มีสารเคมีสะสมในดิน
ทำให้เกิดเชื้อราในดินพอมาปลูกมะละกอก็จะเกิดเชื้อราเข้าทำลาระบบรากมะละกอการสังเกตต้นที่ระบบรากถูกทำลายใต้ใบจะเหี่ยว
เหลืองๆ เหี่ยวและตายการแก้ไขคือ ไถพรวนดินโรยด้วยปูนขาว 10 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่เป็นการยับยั้งเชื้อรา
การตัดแต่งกิ่ง
1.ระหว่างต้นที่ปลูกนั้นต้องห่างที่ 3X3
เมตรเรื่องจากว่าถ้าปลูกใกล้กันใบจะชนกันระหว่างต้นอากาศไม่ถ่ายเททำให้ลูกไม่ดก
ออกผลไม่ดี และในช่วงต้นสมบูรณ์เต็มที่ผลโต
2. และใบที่เหลืองให้มีการตัดแต่งกิ่งออกด้วยตัดห่างจากต้นประมาณ
1 คืบหรือ 15 เซนติเมตรเพื่อป้องกันใบแห้งเหี่ยวนั้นจะร่วงแล้วใบจะขูดผิวมะละกอ
ราคาตกช้ำไม่สวยไม่เป็นที่นิยม
3.และอีกปัญหาคือนกจะเกาะกิ่งที่เหลืองและจิกกินผลมะละกอเกิดความเสียหาย ดังนั้นกิ่งที่เหลืองต้องตัดทิ้ง
การบำรุงมะละกอจากที่ปลูกเข้าเดือนที่
4 ขึ้นไป
1. ปุ๋ยขี้ไก่ 15 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อช่วยดึงความชื้น และดินไม่แน่นเกินไป ทำให้ดูดซับน้ำและอาหารได้ดี
2. และในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นมะละกอโตเต็มที่ สามารถสังเกตดูได้ว่าเป็นต้นตัวเมีย
หรือต้นกระเทย และต้นเป็นโรค
3. ถ้ามีต้นเมีย ก็ทำการถอนทิ้ง
เพราะถ้าปล่อยไปจะเกิดเป็นผลเพศเมียทั้งต้นราคาไม่ดี บำรุงดูแลรักษาไปก็ไม่คุ้มทุน
เพราะราคาของเพศเมียอยู่ที่กิโลกรัมละ10 บาท ส่วนผลเพศกระเทยได้ราคามากถึง 20 บาท
4. ถ้าต้นมะละกอเกิดเชื้อราขึ้นก็ต้องถอนทิ้ง ซึ่งปัญหาอาจเกิดมาจากปลูกซ้ำพื้นที่เดิมจาการปลูกพืชชนิดอื่น และผ่านการใช้สารเคมีมาก่อน
มีสารเคมีสะสมในดินมาก และทำให้เกิดเชื้อราในดินพอมาปลูกมะละกอก็จะเกิดเชื้อราเข้าทำลาระบบรากมะละกอ การสังเกตต้นที่ระบบรากถูกทำลายใบจะเหี่ยว
เหลืองๆ และเหี่ยวตายในที่สุด
การแก้ไขคือ
ไถพรวนดินโรยด้วยปูนขาว 10
กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ เพื่อเป็นการยับยั้งเชื้อรา หรือทำน้ำหมักชีวภาพแก้ไขโรคใบหงิกจากการเกิดเชื้อรา โดยฉีดเพื่อทำลายเชื้อไวรัส โดยมีส่วนผสมดังต่อไปนี้
1.ยาเส้น 1 ขีด
2.ผงซักฟอก 2 กำมือ
3.บอระพ็ด1 ขีด
4.ใบสะเดา 1 ขีด
โขลกให้เข้ากัน เติมน้ำ 1 ลิตรแช่ไว้ 2 ชั่วโมงกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำ เอาน้ำที่ไดนี้100 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดให้ทั่วทั้งใบที่หงิกและลำต้นที่เกิดไวรัส ฉีดในเวลาตอนเย็นๆ ฉีด 2 วัน ใบที่หงิกจะคลายตัว
และหายไป อัตราการใช้ 1 ลิตร ต่อต้น
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น