" เรือนแพมีประโยชน์ใช้สอยแบบพิเศษ คือสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ ทั้งสามารถยกระดับขึ้นลงตามระดับน้ำ ทำให้หมดปัญหาเรื่องน้ำท่วม มีหลักไม้ปักยึดตำแหน่งเรือและแพ "
Floating
House.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542
ได้ให้คำจำกัดความที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในลักษณะต่าง ๆ โดยรวมถึง แพ หรือ เรือ
ซึ่งจอดอยู่เป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ ดังนั้นเรือนแพจึงหมายถึงเรือนที่อยู่อาศัยซึ่งปลูกสร้างอยู่บนแพ
ได้พบภาพถ่ายโบราณแสดงให้เห็นว่า มีเรือนแพสร้างเรียงรายเกาะกลุ่มกัน
ลอยอยู่ตามริมแม่น้ำรวมทั้งคลองต่าง ๆ ในเขตพระนครและปริมณฑลเป็นจำนวนมาก
เรือนแพ
นอกจากใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังใช้เป็นเรือนร้านค้าสำหรับค้าขายไปในตัว น่าเสียดายที่เรือนแพ
รวมทั้งเรือนเรือไม่มีปรากฏในเขตพระนครแล้วในปัจจุบัน ยกเว้นในท้องที่บางจังหวัด ได้แก่
จังหวัดอุทัยธานี พิษณุโลก และฉะเชิงเทรา
กับเรือนแพที่ประยุกต์เพื่อใช้สอยเป็นอย่างอื่น มีสาเหตุเกิดจากได้มีการออกกฎระเบียบ
มิให้มีการอาศัยอยู่ในเรือนแพและเรือนเรืออีกต่อไป ดังนั้น
ตามลำคลองในเขตพระนครปัจจุบันจึงไม่ปรากฏให้เห็นเรือนแพอีกเลย
ลักษณะของเรือนแพ
เรือนแพเป็นเรือนที่อยู่อาศัยทั่วไปที่สร้างอย่างถาวรบนแพ
ไม่ต้องการที่ดินโดยตรง มักมีขนาดเล็กกะทัดรัด ลักษณะเป็นโครงสร้างไม้ ฝาผนังเป็นไม้หรือสังกะสี
หลังคามีทั้งแบบจั่วและปั้นหยา มุงสังกะสี
ปลูกสร้างบนแพลูกบวบล่องลอยอยู่ทั่วไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ลักษณะของหลังคาดังในภาพมีทั้งหลังคาจั่ว
หลังคาจั่วต่อชายคาคลุมพื้นที่โล่งด้านหน้าเรือน หลังคาจั่วทำเป็นหลังคาแฝด หลังคาจั่ว
ต่อชายคาด้านข้าง หลังคาทรงไทยเดิมและหลังคาปั้นหยา
การวางตัวเรือนบนแพลูกบวบ
พบว่ามีทั้งวางตามแนวยาวและแนวขวาง
โดยวางบนพื้นที่ส่วนหนึ่งของแพ
เว้นขอบแพเป็นทางเดินโดยรอบ เหลือพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่โล่ง
ด้านหลังเหลือพื้นที่แคบ ๆ เรือนแพเกือบทุกหลังจะมียานพาหนะสำหรับเดินทาง
คือเรือพาย ลอยลำอยู่ข้างแพ โดยมีหลักไม้ปักยึดตำแหน่งเรือและแพ
Type of
Floating Houses, Sakhae Krung River, Uthai Thani Province, Thailand.
พื้นที่ใช้สอยในเรือนแพ
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน ดังนี้
พื้นที่โล่งนอกตัวเรือน
มักยกพื้น สร้างหลังคาต่อจากหลังคาเรือนหรือสร้างเป็น
บานกระดกแผงใหญ่ เปิดขึ้นแทนหลังคากันแดดฝน ใช้เป็นที่พักผ่อนและกิจกรรมอื่น ๆ
พื้นที่โดยรอบตัวเรือน
จะเว้นระยะไว้เป็นทางเดิน และวางของ ส่วนประกอบอื่นๆ ของเรือนแพ ได้แก่ ห้องน้ำห้องส้วม
บางแพมีการเพิ่มพื้นที่โดยสร้างเรือนแพอีกหลังหนึ่ง ใช้เป็นเรือนครัว ห้องเก็บของ
หรือใช้เป็นห้องนอนที่เป็นสัดส่วน
ระบบสุขาภิบาลสำหรับชาวเรือนแพ
มีการกำจัดขยะโดยเก็บขึ้นไปบนบก น้ำอาบน้ำชำระปล่อยลงแม่น้ำ
ระบบขับถ่ายจะสร้างส้วมที่มุมหนึ่งนอกเรือน
เรือนแพมีประโยชน์ใช้สอยแบบพิเศษ
คือสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้
ทั้งสามารถยกระดับขึ้นลงตามระดับน้ำ ทำให้หมดปัญหาเรื่องน้ำท่วม
ปกติชาวเรือนแพจะมีวิถีชีวิตเหมือนกับประชาชนทั่วไป
คือออกจากเรือนไปประกอบอาชีพหรือปฏิบัติภารกิจบนบก เสร็จภารกิจก็เดินทางกลับที่พัก
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า
เรือนแพที่ยังคงเหลืออยู่มีปรากฏอยู่ในบางจังหวัด จึงขอนำเสนอดังต่อไปนี้
เรือนแพสะแกกรัง
จังหวัดอุทัยธานี
Floating
Houses , Sakhae Khang River, Uthai Thani Province, Thailand.
กลุ่มเรือนแพสะแกกรัง หน้าตลาดเมืองอุทัยธานี
ก่อนการเคลื่อนย้าย (08/10/2006)
Floating
House, Sakhae Khang River, Uthai Thani Provinc, Thailand.
กลุ่มเรือนแพสะแกกรัง
จังหวัดอุทัยธานีฝั่งทิศตะวันออก (07/10/2006)
Floating
Houses, Sakhae Khrang Riverside, Uthai Thani Province.
เรือนแพ
หน้าตลาดแม่น้ำสะแกกรังในสภาพแวดล้อมใหม่ (06/03/2008)
Floating
Houses, Sakhae Khrang Riverside, Uthai Thani Province.
จังหวัดอุทัยธานี
เป็นจังหวัดหนึ่งใน 2
จังหวัดที่มีเรือนแพดั้งเดิมปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน
ยังมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม
เรือนแพแม่น้ำน่าน
จังหวัดพิษณุโลก
Floating
Houses, Nan River, Pitsanulok Province, Thailand.
กลุ่มเรือนแพแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก (23/5/2008)
Floating
Houses, Nan River, Pitsanulok Province.
กลุ่มเรือนแพแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก (23/5/2008)
Floating
House, Nan River, Pitsanulok Province.
กลุ่มเรือนแพแม่น้ำน่าน
จังหวัดพิษณุโลก (23/5/2008)
Floating
House, Nan River, Pitsanulok Province.
Floating
House, Bang Pakong River, Chachoengsao Province, Thailand.
เรือนแพแม่น้ำบางปะกง
จังหวัดฉะเชิงเทรา (18/7/2008)
Floating
House, Bang Pakong River, Chachoengsao Province, Thailand.
เรือนแพแม่น้ำมูล
จังหวัดอุบลราชธานี
Floating
House, Ubon Ratchathani Province, Thailand.
เรือนแพแม่น้ำมูล
จังหวัดอุบลราชธานี (23/7/2008)
Floating
House, Ubon Ratchathani Province, Thailand.
เรือนแพที่เมืองอุบล
มีประวัติว่ามีทั้งเรือนแพของเสนาบดีที่มาจากพระนครและเรือนแพชาวจีน
ปัจจุบันเหลือหลักฐานคือมีเรือนแพปรากฏอยู่ 2 - 3 หลัง ที่ใช้เป็นทุ่นเทียบเรือของชาวประมง มิได้ใช้อยู่อาศัย
เนื่องจากขึ้นไปสร้างเรือนอยู่ริมน้ำก่อนแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น