วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวไรฝุ่น ตัวอันตราย ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้


ตัวไรฝุ่น
ตัวไรฝุ่นทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อย่างไร
คนที่แพ้ไรฝุ่น หมายถึง คนที่มีปฎิกิริยาต่อโปรตีนในตัวและในมูลของไรฝุ่น ภูมิแพ้ไรฝุ่นคือ ปฎิกิริยาที่ไวต่อโปรตีนของตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว โปรตีนดังกล่าวจะมีผลเสียต่อทางเดินหายใจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรงและโรคหอบหืด และยังทำให้คนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคมากขึ้น
ตัวไรฝุ่น คือ อะไร
ตัวไรฝุ่น คือ สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นสัตว์จำพวกแมลงแต่มีลักษณะคล้ายกับแมงมุม เห็บ หมัด และ มีขา 8 ขา ชอบอาศัยอยู่ในบ้านของเรา ขนาดของไรฝุ่นจะวัดได้ 1 ส่วน
 100 ของความยาวที่เป็นนิ้ว ซึ่งเทียบแล้วคือเล็กกว่าปากกาที่จุดลงบนกระดาษ
 อาหารของตัวไรฝุ่น คือ เซลล์ผิวหนังของคนและสัตว์เลี้ยงที่หลุดลอกออกมา ผิวหนังของคนนั้นโดยทั่วไปจะหลุดลอกวันละประมาณ 1.5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอที่จะเลี้ยงตัวไรฝุ่นให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี นอกจากอาหารที่ได้จากคน ไรฝุ่นยังอาศัยพวกใยผ้าและขนสัตว์กินเป็นอาหารได้ด้วย

 ตัวไรฝุ่นไม่มีตาที่มองเห็น และไม่มีระบบหายใจ ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่อุ่น ชื้น และเต็มไปด้วยฝุ่นละออง อุปกรณ์การนอน เช่น หมอนหนุน ที่นอน พรม และเฟอร์นิเจอร์ผ้า เป็นสถานที่ที่ดีอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นจะปล่อยมูลของเสียของมันออกมาประมาณวันละ 20 ก้อน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการสืบพันธุ์ของพวกมัน คือ ที่นอนที่มีความอบอุ่น ชื้น และมืดของเรานั่นเอง ไรฝุ่นเพศเมียจะวางไข่วันละ 60-100 ฟอง
ตัวไรฝุ่นเล็กๆกับหยดน้ำ
 พบเจอตัวไรฝุ่นง่ายๆ ได้ที่ไหนบ้าง
ที่ไหนที่มีคนและสัตว์ มีความอุ่น มีอุณหภูมิความชื้นพอเหมาะที่ระดับ 60 % ที่นั่นคือที่อยู่อาศัยของไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่ที่ดังต่อไปนี้เป็นที่สุด กล่าวคือ ที่นอน เฟอร์นิเจอร์ทำจากวัสดุเส้นใยผ้า พรมปูห้อง พรมปูพื้น ผ้านวม หมอน ตุ๊กตาของเล่นที่ทำจากผ้า และทุกอย่างที่มีเส้นใยผ้ามาเกี่ยวข้องด้วย
    โดยเฉลี่ยแล้ว เตียงนอน 1 เตียง สามารถเลี้ยงดูตัวไรฝุ่นได้หลายล้านตัว พวกเราใช้เวลานอนบนที่นอนกันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งผิวของเราได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดและยาวนานกับมูลของไรฝุ่นที่มีสารทำให้เกิดภูมิแพ้
     มีรายงานเกี่ยวกับตัวไรฝุ่นทั่วโลก ซึ่งสายพันธุ์จำนวน 13 สายพันธุ์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 30 วัน และตัวเมียวางไข่วันละ 1 ฟอง จำนวนของตัวไรฝุ่นจะเพิ่มมากที่สุดในช่วงฤดูร้อนในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นและลดจำนวนลงเหลือน้อยที่สุดในช่วงฤดูหนาว
   ตัวไรฝุ่นก็เหมือนกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค จะแพร่กระจายอย่างดีในสภาพบ้านที่อากาศถ่ายเทไม่ดีและตัวไรฝุ่นก็อาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ใหญ่ขาดงาน เด็กๆ ขาดเรียน เนื่องจากแพ้มูลของมัน ทำให้เกิดอาการจามอย่างหนัก เกิดปฎิกิริยากระตุ้นภูมิแพ้ มีการคันตามผิวหนัง น้ำตาไหล ไอ เวียนศีรษะ หมดแรง หายใจไม่สะดวก และมีปัญหาระบบย่อยอาหาร
    ตัวไรฝุ่นที่ตายจะมีจำนวนโปรตีนจำนวนมาก เมื่อเราสูดลมหายใจหรือผิวหนังของเราสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตาย ร่างกายของเราก็จะสร้างภูมิต้านทาน (antibodies) ขึ้นมา ภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของทางเดินหายใจตอนต้น นั่นก็คืออาการของโรคทางเดินหายใจอักเสบและโรคหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย
 สารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นอาจเป็นสาเหตุของโรคต่อไปนี้
                        โรคทางเดินหายใจอักเสบตลอดปี
            โรคตาอักเสบ (ตาระคายเคือง)
            โรคจมูกอักเสบ (น้ำมูกไหลและมีการจาม)
            โรคหอบหืด (ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ) , โรคหอบหืดในระยะต่อไป
            โรคผิวหนังอักเสบ (ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีผื่นแดงและคัน)
            โรคปวดศีรษะ
            โรคผื่นคัน
การควบคุมตัวไรฝุ่นในห้องนอน
คนเราใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากกว่าสถานที่อื่นๆ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นนั้นเป็นเรื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการลดฝุ่นในห้องนอนลง ทั้งนี้ตัวไรฝุ่นจะเติบโตได้อย่างดีในที่นอน หมอน และเครื่องนอนที่ใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลในการลดไรฝุ่นในห้องนอน :
 
                      ใช้วัสดุที่เป็นไม้ปูพื้น และยกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยผ้าออกไป
            คลุมที่นอน หมอน ด้วยผ้าคลุมพลาสติก (หรือผ้าคลุมป้องกันไรฝุ่น)
            ซักผ้าปูที่นอนและผ้าห่มทุกๆ 2-4 สัปดาห์ในน้ำร้อน
            เช็ดทำความสะอาดบานเกล็ดม่าน และถูพื้นด้วยผ้าชื้นทุกๆ สัปดาห์
            นำของเล่น สมุดหนังสือ และสัตว์สตั๊ฟออกนอกห้อง
 การควบคุมตัวไรฝุ่นในบ้าน
พยายามลดความชื้นในบ้าน
ซักเครื่องนอนด้วยน้ำร้อน
จัดเตียงในช่วงสายของวันและเปิดหน้าต่างให้อากาศผ่านเข้ามา
คลุมที่นอนและหมอนด้วยวัสดุที่มีรูของใยผ้าขนาดเล็กกว่าไรฝุ่นเพื่อป้องกันตัวไรฝุ่น
พยายามกำจัดไอน้ำที่เกิดจากการอาบน้ำและการทำอาหารโดยการเปิดหน้าต่างให้ลมเข้าถ้าเป็นไปได้
เปิดหน้าต่างในขณะที่ทำความสะอาดเพื่อให้สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ถูกลมพัดออกไป
อย่านำถุงเก็บฝุ่นกลับมาใช้อีกครั้ง และถ้าเป็นไปได้ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีถุงกรองฝุ่นอย่างดี
ของเล่นต่างๆ หรือของชิ้นเล็กควรจะนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นหรืออบร้อนในเครื่องอบผ้าเพื่อฆ่าตัวไรฝุ่น
ตัวไรฝุ่นไม่ชอบแสงอาทิตย์ ดังนั้นปล่อยให้อากาศเข้าบ้านและเอาพรมหรือผ้าห่มไปตากแดดบ้างในวันที่แดดออก
 วิธีง่ายๆ ที่ได้ผลในการหลีกเลี่ยงตัวไรฝุ่น
ใช้ผ้าที่ทออย่างแน่นคลุมเครื่องนอน ผ้าชนิดนี้ทำจากเส้นใยธรรมชาติ หรือการผสมผสานกันระหว่างเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยที่ทออย่างแน่นนี้จะมีช่องระหว่างเส้นใยเล็กมากจนตัวไรฝุ่นและมูลของมันไม่สามารถผ่านเข้าไปในที่นอนได้ มีแต่อากาศเท่านั้นที่ยังผ่านได้ปกติซึ่งจะทำให้ผู้ที่นอนเกิดความรู้สึกสบายตัว
 ใช้วัสดุสังเคราะห์ เช่น การใช้วัสดุอย่างเช่น โพลีพร็อพพีลีนที่ทอเป็นเส้นใย 3 ชั้นที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและให้ความสบาย วัสดุเหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือนกับตาข่ายที่ดักจับตัวไรฝุ่นและมูลของมัน อีกทั้งยังระบายลมและความชื้นได้ดี
 วัสดุประเภทเคลือบไวนิล/ยูรีเทน หรือเคลือบสารอื่นๆ วัสดุเหล่านี้เป็นจำพวกที่อากาศไม่สามารถระบายได้ ถึงแม้จะกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ผ่านเข้าสู่ที่นอนได้ แต่ก็จะทำให้ผิวของเราเกิดความร้อน เหนียวเหนอะ และนอนไม่สะดวกสบาย เนื่องจากความชื้นบนผิวร่างกายเราไม่อาจซึมผ่านวัสดุได้ วัสดุที่เคลือบด้วยไวนิลหรือยูรีเทนอาจจะทำให้เกิดกลิ่นหรือปล่อยสารเคมีสู่อากาศได้



โรคแพ้อากาศ แท้ที่จริงแล้วต้องเรียกว่า "โพรงจมูกอักเสบจากการแพ้" ถึงจะเหมาะสม กว่าใช้คำว่า แพ้อากาศ ซึ่งไม่ตรงความหมาย เนื่องจากอากาศเป็นก๊าซต่างๆ ในธรรมชาติที่รวมตัวกันอยู่และไม่มีปัญหากับจมูก
 ใครที่โพรงจมูกอักเสบจากการแพ้ เมื่ออาการกำเริบจะคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม และคันจมูก เพราะเยื่อบุโพรงจมูกได้รับสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลานาน ทั้งยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
 ส่วนสารก่อภูมิแพ้ตัวการทำอาการกำเริบนั้น ประกอบด้วย ตัวไรฝุ่น ที่มีขนาดเล็กเพียง 0.3 ม.ม. มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รวมถึงของเสียที่ตัวไรฝุ่นขับออกมาก็เป็นสารก่อภูมิแพ้เช่นกัน และยังมีเกสรของหญ้า แมลงสาบ เชื้อราในอากาศและดิน ขนสัตว์ โดยเฉพาะแมวกับสุนัข
 สำหรับการดูแลตนเองหรือคนใกล้ชิดเพื่อป้องกันโพรงจมูกอักเสบจากการแพ้กำเริบขึ้นมานั้น ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ตามที่กล่าวไว้ ไม่ใช้ที่นอนและหมอนที่ทำจากนุ่น ขนเป็ด ใยมะพร้าว เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยชั้นเยี่ยมของไรฝุ่น ทว่าเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้หาพลาสติกมาคลุมหรือหุ้มที่นอนและหมอนเอาไว้
 หมั่นเปลี่ยนผ้าปูที่นอน-ปลอกหมอน ไม่ควรใช้พรม อย่านำกระถางต้นไม้มาไว้ในบ้าน หากต้องดูแลต้นไม้ รดน้ำ พรวนดิน ควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันจมูก ที่สำคัญคือ ไม่ควรเลี้ยงสัตว์เลี้ยง อย่างสุนัขและแมว
 อากาศโพรงจมูกอักเสบจากการแพ้ หรือโรคแพ้อากาศที่เรียกคุ้นปาก มักมีอาการเรื้อรัง ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องดูแลตัวเองให้ห่างจากสารก่อภูมิแพ้จะดีที่สุด.


เอกสารอ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น