
รูปด้านหน้า บ้านลอยน้ำที่ออกแบบโดยกรมโยธาธิการ
บ้านลอยน้ำกับน้ำท่วม ภัยพิบัติที่ไม่คาดฝัน ไม่มีใครอยากประสพกับภัยธรมชาติใดๆ แต่โชคขะตามักจะเล่นแง่กับผู้คนเสมอ ความทุกข์ระทมที่ต้องจมอยู่กับน้ำ สูญเสียคนที่เรารัก ข้าวของจมบ้าง ลอยหายไปกับน้ำบ้าง ปีนี้น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติหนักของประเทศไทย กรมโยธาธิการได้ออกแบบบ้านลอยน้ำที่น่าสนใจ สวย เรียบง่าย สร้างง่าย ที่สำคัญราคาไม่แพงมากนัก ถ้าใครคิดที่จะสร้างบ้านเพื่อป้องกันน้ำท่วมไปในตัว หรือในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก เห็นด้วยอย่างมากค่ะ ลองศึกษาแบบบ้านของกรมโยธาธิการดูนะค่ะ
รูปด้านขวา
จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย
กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่งคือการให้บริการแบบบ้านเพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลายรูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้
จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ
จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน
ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่
ทัศนียภาพกลุ่มอาคาร
รูปด้านซ้าย
กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้นโดยปรับใช้แนวคิดจาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน” และเรือนแพของชาวบ้านในอดีต
นำมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำได้
โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งที่มุมเพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ
และเมื่อระดับน้ำลดลงตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม
รูปด้านหลัง
แนวคิด
ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
ตามฤดูกาล
และตั้งอยู่บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้บ้านทั้งหลัง
สามารถลอยสูงขึ้นได้ตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตามบ้านลอยน้ำ
นี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวกรากรุนแรง
รูปด้านใน
ขนาดพื้นที่ ประมาณ 60
ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23
ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง
รวม 37 ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง)
ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ
915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)
รูปด้านล่าง
วัสดุก่อสร้าง
ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด
ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมัน
ขนาด 200 ลิตร
หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น
ระบบสุขาภิบาล ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM
ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล
รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิกที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ)
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น