วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กล้วยหอมทอง ผลผลิตสูง รสชาติหอมหวาน

กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของไทย มีการผลิตและส่งออกไปยังตลาดในประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก พื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองควรเป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง ถ้ามีลมแรงความเร็วประมาณ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้เกิดความเสียหายบริเวณโคนต้นกล้วย ถ้าความเร็วลมตั้งแต่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป จะทำให้ต้นกล้วยหักล้มลงทันที ชอบอากาศร้อนชื้น  แต่ไม่ชอบดินน้ำท่วมขัง  กล้วยหอมทองเป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาดหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง หรือในช่วงที่ขาดน้ำ แต่ถ้ามีฝนตกมากเกินไปน้ำไม่ควรให้น้ำท่วมขัง ควรมีทางระบายน้ำ อุณหภูมิของอากาศที่พอเหมาะในการเจริญเติบโตไม่ควรต่ำกว่า 15 องศา เซลเซียส และไม่ควรสูงกว่า 35 องศา เซลเซียส 
กล้วยหอมทอง ช่อง 9.flv
การปลูกกล้วยหอมทอง
กล้วยหอมทองปลูกมากที่ ปทุมธานี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กรุงเทพ เชียงราย กล้วยหอมทองเป็นผลไม้ที่ออกผลได้ตลอดปี ราคาค่อนข้างจะคงที่ไม่เหมือนกับผลไม้อย่างอื่น  ตลาดต่างประเทศที่นิยมกล้วยหอมทองมาก ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เดนมาร์ก ฝรั่งเศส แคนาดา
นอกจากจะ รับประทานกล้วยหอมทองเป็นผลไม้แล้ว ยังนำไปทำขนม เช่น เค้กกล้วยหอม กล้วยฉาบ กล้วยกวน กล้วยหอมทอด หรือ น้ำกล้วยหอม ฯลฯ
พันธุ์ของกล้วยหอมทอง :
คำที่เรียกกันติดปากว่ากล้วยหอมทองนั้นมาจาก สีผิวของกล้วยเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่มีบางชนิด เมื่อสุกแล้วสีผิวจะไม่เปลี่ยน จึงเรียกกันว่ากล้วยหอมเขียว สำหรับพันธุ์กล้วยหอมทองถ้าจะแบ่งตามลักษณะความสูงของต้น จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ
1. กล้วยหอมทองต้นสูง ต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นอบใหญ่ กาบสีดำเป็นบางส่วน เครือใหญ่ ผลยาว เมื่อสุกมีกลิ่นหอมมาก สีผิวของเปลือกเป็นสีเหลือง เปลือกไม่ยุ่ย
2. กล้วยหอมทองค่อม ต้นสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ลำต้นอวบใหญ่ ต้นเตี้ย ผลสั้น เครือเล็กกว่า กลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์ต้นสูง
พันธุ์ที่นิยม คือ กล้วยหอมทอง (AAA Group) ให้ผลผลิตสูง รสชาติดี และผลโต
ลักษณะดินที่ปลูก :
ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง ควรเป็นดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีอินทรียฺวัตถุสูง ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง จะต้องเตรียมดินให้ร่วนซุย โดยไถด้วยผานเจ็ด 2 ครั้ง หรือจะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7-10 วันเพื่อกำจัดวัชพืช และศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน
ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม :
ปกติกล้วยหอมทองจะปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำเพียงพอ กล้วยหอมทองมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 ปี แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมปลูกกันมาก ในช่วงต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน เพราะกล้วยหอมทองจะสุกแก่ในช่วงเดียวกันกับเดือนที่ปลูก การปลูกในช่วงนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องต้นกล้วยหัก(เพราะหนักเครือและลมแรง) ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน่อที่จะใช้ในการปลูกอีกด้วย เพราะเป็นช่วงที่ตัดเครือกล้วยแล้ว การขุดหน่อใหม่จากต้นแม่ไปปลูกจึงไม่กระทบกระเทือนเหมือนกับการขุดหน่อในช่วงอื่น
ถ้าจะปลูกกล้วยหอมทองในเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน จะมีผลต่อราคาที่อาจขายได้ไม่ค่อยดีนัก กล้วยหอมจะมีราคาต่ำ เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีผลไม้ชนิดอื่นออกมาสู่ตลาดกันมาก นอกจากนี้ต้นกล้วยหอมยังหักล้มได้ง่ายเพราะมีลมแรง กล้วยจะหักพันคอก่อนเครือจะสุกแก่เต็มที่ ก่อนการปลูกกล้วยหอมทองจำต้องมีการวางแผนการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเลี่ยงหลีกปัญหาที่อาจทำให้เกิดภาวะขาดทุนได้
การคัดเลือกหน่อพันธุ์ปลูก เป็นสิ่งสำคัญต่อผลผลิตที่จะได้รับในอนาคต หน่อพันธุ์ที่อ่อนหรือแก่จนเกินไปจะทำให้กล้วยตกเครือไม่พร้อมกัน กลักการเลือกหน่อพันธุ์ปลูก ควรพิจารณาดังนี้
1 หน่อใบแคบหรือหน่อดาบ เป็นหน่ออ่อนที่มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ จะเรียวเล็ก หน่อลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดอยู่กับโคนต้นเดิมและมีขนาดอวบสมบูรณ์ เหมาะสำหรับที่จะเลือกไปเป็นหน่อพันธุ์ปลูกอย่างยิ่ง
2.หน่อใบกว้างหรือหน่อตาม เป็นหน่อที่เกิดมาจากต้นกล้วยต้นแม่ที่กำลังจะตกเครือ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่ขุดไปปลูกกัน แต่จะใช้วิธีการปาดหน่อตามออกโดยการปาดเฉียงขึ้นสัก 3-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 วัน เพื่อให้โคนต้นกล้วยที่ปาดอวบสมบูรณ์ขึ้น มีรากมากขึ้น เมื่อมีการแต่งหน่อดีแล้ว หน่อใบกว้างก็จะมีความสมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตดีเช่นเดียวกันกับหน่อใบแคบ
การเตรียมหน่อปลูก :
ขุดหน่อกล้วยโดยใช้ชะแลงตัดหน่อให้แยกออกจากกอเดิมก่อน แล้วใช้จอบขุดให้รอบเพื่อให้รากขาด จากนั้นให้ใช้ชะแลงงัดหน่อกล้วยขึ้นมา วิธีนี้จะทำให้หน่อกล้วยที่ได้ไม่ช้ำและหลุดออกง่าย เมื่อขุดหน่อได้แล้วให้ใช้มีดคมๆ ปาดรากกล้วยที่ยาวออกให้เหลือรากติดเหง้ากล้วยประมาณ 1 นิ้วเป็นพอ
การปลูกกล้วยหอมทอง :
การปลูกกล้วยหอมทองจะใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลูกที่เหมาะสม หรือจะใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้เช่นกัน การเลือกใช้ระยะปลูกกล้วยหอมทองนั้นขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ แต่ถ้าใช้ระยะปลูกที่ถี่ไปกว่านี้จะทำให้ต้นกล้วยมีอาการสูงชะลูโ เครือกล้วยเล็ก เมื่อโตเต็มที่ เพราะความหนาแน่นของต้นกล้วยที่มีมากกเกินไปทำให้กล้วยที่ปลูกได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ

ใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่

ใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 133 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่
วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง :
หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้ว ขุดหลุมลึกประมาณ 40 ซม. หรือ 1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก นำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดิน เหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอน หลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดิน
การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก :
ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้ง แต่ถ้าเป็นหน่อในกว่างหรือหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อน ควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น
การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย :
ถ้ามีการดายหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลา จะทำให้ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น สำหรับวิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วยมี 3 วิธี ด้วยกันคือ

 1การใช้แรงงานคน ปกติถ้าปลูกกล้วยเป็นจำนวนไม่มาก การใช้แรงงานคนเข้าดายหญ้าในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

2. ใช้รถไถเล็กหรือรถไถเดินตาม เกษตรกรบางรายที่มีพ้นที่ปลูกมาก การใช้รถไถเดินตามไถดะระหว่างร่องกล้วยไปกลับร่องละ 2 ครั้ง ระวังอย่าไถชิดโคนต้นกล้วยมากเกินไป แล้วดายพรวนรอบโคนต้นกล้วยอัดดินบริเวณโคนต้นกล้วยให้แน่น จะทำให้โคนต้นกล้วยไม่หักล้มได้ง่าย

3. การใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ควรเป็นสารเคมีประเภทสัมผัส ผสมน้ำตามอัตราที่กำหนด ฉีดพ่นอย่าให้ถูกใบกล้วย สารเคมีจำพวกนี้จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพของดินและต้นกล้วย แต่จะมีผลทำให้ผลผลิตที่ได้สู้การกำจัดวัชพืชโดยการดายหญ้าไม่ได้

 (เนื่องจากวิธีการดายหญ้าจะเหมือนเป็นการพรวนดินกระตุ้นให้รากพืชหากินได้เก่งขึ้น จึงทำให้ผลผลิตที่ได้มีมากกว่าวิธีการกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมี )
การให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง :
ควรให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ปริมาณจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน สำหรับปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมสำหรับกล้วยหอมทองคือ 21-0-0 จำนวน ใช้ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง :
ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 2 บุ้งกี๋เมื่อกล้วยแตกใบได้ประมาณ 5 ใบ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง ควรจะใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 สักครั้งหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อบำรุงต้น หลังจากนั้น 2 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อีกครั้ง 1

หลังดายหญ้าพรวนดินเสร็จควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แล้วจึงตัดหน่อแต่งใบ เพื่อไม่ให้สะดวกเวลาเข้าไปจัดการสวนกล้วย เมื่อกล้วยเริ่มมีขนาดใหญ่หรืออายุประมาณ 7 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้งหนึ่ง ในการใส่ปุ๋ยควรใส่รอบโคนต้น โดยเว้นระยะห่างจากโคนต้นกล้วยประมาณ 1-2 คืบ
การให้น้ำกล้วยหอมทอง :
ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีการสูบน้ำจากบ่อบาดาลหรือบ่อกักเก็บน้ำที่อยู่ใกล้ๆ สวน สูบน้ำขึ้นมารดต้นกล้วย สำหรับเครื่องสูบน้ำที่ใช้ควรจะมีขนาด 5-8 แรงม้า แล้วใช้สายยางขนาด 2 นิ้ว ต่อรดน้ำแปลงกล้วย การให้น้ำกล้วยทุกชนิดจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ และขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวันเหมือนพืชอื่น
การตัดแต่งหน่อและใบกล้วยหอมทอง :
1. การแต่งหน่อกล้วย หากปลูกกล้วยต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ประมาณเดือนมิถุนายนกล้วยจะแตกหน่อตามขึ้นมาประมาณ 4-7 หน่อต่อกอ เมื่อหน่อตามมีใบคลี่แล้ว ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้น กะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้ว จากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) ทุกๆ 15 วัน จะทำให้โคนหน่อกล้วยขยายใหญ่ขึ้นเหมาะที่จะนำไปปลูกต่อไป (ความถี่ในการปาดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการเลี้ยงหน่อกล้วยของเกษตรกรว่า ต้องการให้จะเลี้ยงให้หน่อมีขนาดอวบอูมขนาดไหน)
2. การตัดแต่งใบกล้วย ขณะที่มีการแต่งหน่อ ควรทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วย และควรตัดแต่งใบกล้วยไปจนกว้ากล้วยจะตกเครือ การตัดให้เหลือใบกล้วยไว้กับต้น 10-20 ใบต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นกล้วย อย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมาเพราะส่วนที่เหลือยื่นยาวไว้นั้นจะเหี่ยวแล้วรัดลำต้นทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร

การปล่อยให้มีใบกล้วยติดลำต้นมากเกินไปจะทำให้ใบแผ่ปกคุมดิน คลุมโคนต้น ทำให้แดดส่องไม่ทั่วถึงพื้นดิน เมื่อแดดส่องไม่ถึงพื้นจะมีปัญหาเรื่องความชื้นในดินที่มีมากเกินไป การปฏิบัติงานในสวนก็จะไม่สะดวก สำหรับใบกล้วยที่ตัดออกจากต้นแล้วนั้นจะนำไปขายสร้างรายได้หรือจะกองรวมไว้กลางร่องสวน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก ใช้บำรุงต้นกล้วยก็ได้
การค้ำลำต้นกล้วย :
กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องการหักล้มง่ายเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากลำต้นที่สูงใหญ่ เครือใหญ่ หนัก และ คออ่อน เมื่อขาดน้ำหรือลมพัดก็จะหักโค่นเสียหายได้ง่ายมาก สำหรับวิธีการลดการหักล้มของต้นกล้วยนั้นมีด้วยกันหลายวิธีดังนี้
1. การใช้ไม่ไผ่ค้ำที่ก้านเครือ ใช้ไม่ไผ่จำนวน 2 ลำ มัดติดกันตรงส่วนปลายแล้วให้ก้านเครือกล้วยพาดอยู่บนง่ามระหว่างไม่ไผ่ทั้งสอง หรือจะใช้ไมไผ่ลำเดียวตัดปลายให้เป็นง่าม ค้ำที่ก้านเครือเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีลมพัดแรง การใช้ไม้ไผ่ลำเดียวค้ำแบบนี้จะเอาไม่อยู่ สุดท้ายกล้วยก็ยังหักล้มได้เสมอ
2. การใช้ไม่ไผ่มัดติดกับลำต้น เกษตรกรบางรายจะใช้ไม้รวก เพราะหาได้ง่ายกว่า การค้ำต้นกล้วยด้วยวิธีนี้ จะมัดลำไม่ไผ่ติดไว้กับต้นกล้วย แล้วมัดด้วยเชือกกล้วยหรือก้านใบกล้วย 3 เปราะ โดยหาหลักสั้นๆ ที่แหลมตอกนำแล้วถอนออก จากนั้นปักไม้ไผ่ลงหลุมในด้านตรงกันข้ามกับการเอนของต้นกล้วย วิธีนี้จะทำก่อนกล้วยจะตกเครือก็ได้ แต่ต้องให้ไม้รวกยาวกว่าต้นกล้วย
3. การใช้เชือกโยงมัดต้นกล้วย วิธีนี้จะใช้เชือกมัดตรงคองงวงของต้นกล้วยที่เอนแล้วโยงไปยึดต่อกับโคนต้นกล้วยอีกต้นหนึ่ง
ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง :
ประมาณ 10 เดือนหลังจากปลูก กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่ – กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วัน ถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่

หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลม สีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน) ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหากเรื่องเปลือกกล้วยที่แตก ทำให้ผลผลิตเสียหาย

ในปีที่2และ3 จะเรียกกล้วยที่มีอายุเหล่านี้ว่ากล้วยตอ เมื่อถึงเวลาที่ตัดเครือกล้วยออกแล้ว เกษตรกรจะตัดต้นแม่ออก เพื่อลดความหนาแน่นและการแข่งขันในการหาอาหาร แต่การตัดต้นกล้วยนั้นควรจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้หน่อที่แตกใหม่มีอาหารที่สมบูรณ์และน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในตอกล้วยจะช่วยเลี้ยงหน่อที่เหลือให้เจริญต่อไปได้ การเลี้ยงตอนั้นจะเลี้ยงไว้จนตอแห้งแล้วจึงตัดออก
การตัดหน่อกล้วยไว้สำหรับปีต่อไป :
หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไป ควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้

1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นแวบ อยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว ควรเหลือไว้ประมาณ 25 หน่อ ที่อยู่ตรงกันข้าม

2. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบ ลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่าย
ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง :
1.กล้วยหอมทองมีลำต้นสูง เครือใหญ่ จึงมีปัญหาในการหักล้มก่อนกล้วยจะแก่ได้ง่าย
2. ต้องสิ้นเปลืองค่าไม้ค้ำ
3. ถ้าปลูกมากเกินไปในท้องถิ่นหนึ่งกล้วยจะล้นตลาด 
โรคที่สำคัญ
โรคตายพราย (Panama disease)
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. cubense
อาการ:
มักเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการของกล้วยที่เพิ่งจะเป็นโรคนี้ สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากเชื้อของโรคจะทำลายลำต้นด้านรากก่อน และเจริญอย่างรวดเร็วไปตามท่อน้ำของลำต้น อาการในช่วงนี้จะสังเกตเห็นเป็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ ปลายหรือขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายไปอย่างรวดเร็วจะเหลืองหมดทั้งใบ ใบอ่อนจะมีสีเหลืองไหม้หรือตายนึ่ง และบิดเป็นคลื่นในที่สุดจะหักพับตรงบริเวณโคนก้านใบ ส่วนใบยอดอาจจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก แต่ในที่สุดก็จะแห้งตายไปเช่นกัน
อาการที่บริเวณลำต้น โดยเฉพาะตรงส่วนโคนต้นหรือเหล้าของกล้วย เมื่อผ่าดูภายในจะพบแผลเน่าเป็นจุดสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่หรือแดงส้ม และมีกลิ่นเหม็น ส่วนบริเวณลำต้นที่เรียกว่า กาบกล้วย เมื่อนำมาตัดขวางจะพบเป็นรอยช้ำ เน่า สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ลามเข้าไปข้างในต้นกล้วยจะยืนต้นแห้งตาย หากเป็นกล้วยที่ให้ผลแล้ว เครือจะเหี่ยวผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ และแก่ก่อนกำหนด เนื้อจะจืดซีดและเปลี่ยนเป็นสีดำ
การป้องกันกำจัด:
- คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากบริเวณที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
- มีการปรับสภาพของดินที่เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาว อัตราที่ใช้ประมาณไร่ละ 4-5 ตัน
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย
- ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค โดยการสุมไฟเผาหรือขุดหลุมฝังให้ลึกอย่างน้อย 3-4 ฟุต
- หลักเลี่ยงการปลูกในหลุมเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว
- ควรลดธาตุไนโตรเจนให้น้อยลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะทำให้พืชอ่อนแอเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วยอย่าให้เกิดรกรุงรัง และทำทางระบายน้ำให้ดี และราดโคนต้นให้ชุ่มด้วย สารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cecospora musae, Phyllosticma musarum, Guignardia musae ฯลฯ
ลักษณะอาการ:
เมื่อเริ่มเป็นจะเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลือง สีแดง ดำ หรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับเชื้อสาเหตุ แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ผลสุกก่อนกำหนด รสชาติหรือคุณภาพเสียไป
การป้องกันกำจัด:
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแคปแทน อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
ตัดใบที่เป็นโรคมากออกมาเผาทำลาย
โรคใบเหี่ยว (Bacterial wilt)
เกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solanacearum จะอยู่ทั้งในดินบริเวณโคนต้นและในส่วนของกล้วยเป็นโรค จะแพร่กระจายไปกับน้ำและติดไปกับหน่อพันธุ์
ลักษณะอาการ:
ใบกล้วยจะเป็นสีเหลือง เหี่ยวเฉา และอาจห้อยลงมา แต่เมื่อพบเห็นอาการนี้โรคจะอยู่ในระยะรุนแรงมากแล้ว โดยทั่วไปเมื่อโรคเริ่มเป็น จะพบว่าเนื้อเยื่อของกาบลำต้น เหง้า (ลำต้นแท้) ก้านใบ ก้านเครือ มีท่อน้ำท่ออาการถูกทำลาย เป็นสีน้ำตาล เมื่อผ่าออกจะมีของเหลวเหนียวเป็นยางไหลออกมา โรคนี้จะทำให้ต้นกล้วยค่อย ๆ ตายไป ถ้าเป็นในระยะออกเครือจะทำให้ผลอ่อนสุกก่อนกำหนด ขนาดเล็กเท่านิ้วมือปะปนกับผลอ่อนที่ยังเขียวอยู่ เมื่อเป็นในระยะต้นอ่อน ใบจะเป็นสีเหลืองมีขอบใบแห้งอยู่โดยรอบ แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด:
ทำความสะอวดเครื่องมือเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ต้องระมัดระวังอย่าใช้มีดที่ตัดแต่งจากกล้วยกอหนึ่งไปยังอีกกอหนึ่ง เพราะจะเพิ่มการระบาดของโรค กล้วยที่เป็นโรคต้องขุดทิ้ง นำไปเผาไฟ แล้วราดหลุมด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์
แช่หน่อพันธุ์ปลูกด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์





เอกสารอ้างอิง
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=493&s=tblplant
http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=3
http://www.ku.ac.th/e-magazine/february44/agri/banana.html
http://www.pandintong.com/ViewContent.php?ContentID=2082

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น