วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผกากรอง ไม้ดอกไม้ประดับ และสมุนไพรสารพัดประโยชน์

ผกากรอง นอกจากเป็นไม้ดอกไม้ประดับแล้ว ยังเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย โดยทั้งต้น ราก ใบ ดอก ผล ๕ อย่างนี้สามารถใช้เป็นยาได้หมด 
ดอกสด ขยี้ห้ามเลือด "ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียนแก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยการเตรียมยา ทำดังนี้คือ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อ หรือ ดอกแห้ง6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
ใบ ตำพอกแผล ฝี แก้อักเสบช้ำบวม "ใบ" มีรสขม เย็น และใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งการเตรียมยาดังนี้คือ นำใบสด10-15 กรัมมาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
ราก ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30 กรัม ต้มน้ำบ้วนปากการใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
ทั้งต้น สับรวมกันนำมาต้มอาบน้ำ รักษาโรคผิวหนัง โรคหืด และโรคปวดกระดูกตามข้อ
ข้อควรระวัง สำหรับผลสีเขียวของผกากรอง ผลแก่แต่ยังไม่สุกนั้นมีสารพิษ กลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และlantadene B ผลนี้ห้ามรับประทานสำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ  ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
 ชื่อสามัญ                Cloth of gold, Hedge Flower
 ชื่อวิทยาศาสตร์  Lantana camar Linn.
 ตระกูล                     VERBENACEAE
 ถิ่นกำเนิด                อัฟริกา
 ชื่อพื้นเมือง :          ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ผกากรองเป็นไม้พุ่มที่พบทั่วไปในบ้านเรา ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบจักเล็กน้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ทำให้รู้สึกสาก ๆ เมื่อจับต้อง ผกากรองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยอาจปลูกเป็นแถวหรืออาจปลูกเป็นกลุ่มให้เกิดเป็นพุ่มก็ได้ ดอกของผกากรองมีลักษณะสีสันที่สวยงามมาก มีหลายสีตั้งแต่เหลือง ชมพูและม่วง เป็นต้น
การขยายพันธุ์          โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ (ส่วนใหญ่แล้วนิยมการปักชำเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า)
 การดูแลรักษา
 แสง                         ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ                           ต้องการน้ำน้อย
ดิน                          สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่ดินที่เหมาะคือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี
ปุ๋ย                          ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น
โรคและแมลง          ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวนเท่าไหร่


เอกสารอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น