วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การกินเจที่ดี ถูกวิธี ได้ทั้งสุขภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกาย


การกินเจ ที่ถูกวิธีได้สุขภาพที่ดีไปอีกนาน การจินเจเป็นการช่วยดีท็อกซ์ล้างสารพิษออกจากร่างกาย ทั้งยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการกินอาหารมังสวิรัติช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยหรือลดอัตราการตายจากโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อต่างๆ ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นมังสวิรัติ โดยมีรายงานยืนยันว่าผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติมักจะมีระดับคอเลสเตอ รอล ความดันโลหิตและน้ำหนักตัวต่ำกว่าผู้ที่ไม่กินอาหารมังสวิรัติ
แต่หากใครที่กินเจผิดวิธีแทนที่จะได้ลดน้ำหนัก หรือล้างสารพิษ กลับทำให้อ้วนเพิ่ม 2-3 กิโลกรัม และเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเพิ่งฟื้นไข้ ผู้ป่วยขาดสารอาหาร ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ควรรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน อย่าเน้นแป้ง หรือของทอดมากเกินไป เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ขาดสารอาหาร

การทานอาหารเจที่ถูกวิธี คือ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
 1. เน้นอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก มีมากในเต้าหู้และถั่วเหลือง อาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง เมล็ดอัลมอลด์ เป็นต้น และควรกินอะมิโนที่จำเป็นควบคู่กันให้เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เห็ด แร่ธาตุที่หลากมีไฟเบอร์ และไฟโตเอสโตรเจน ช่วยขับสารพิษตกค้าง ช่วยลดคอเรสเตอรอลได้
 2. ทานอาหารประเภทข้าว-แป้งแต่พอเหมาะ ทานข้าวหรือแป้งไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง 1 มื้อ ไม่เกิน 2 ทัพพี ขนมปังโฮลวีต ลูกเดือย ธัญพืช มีปริมาณน้ำตาลน้อย ร่างกายจะใช้พลังงานในการย่อยอาหารจำพวกนี้ออกมาเป็นแป้งที่พร้อมดูดซึมเข้า ร่างกาย
 3. ทานอาหารประเภทนึ่ง ต้ม ตุ๋น ดีกว่าอาหารประเภททอดและผัด ที่มีน้ำมัน
ไขมันสูง
 4. กินเจ ทานผักประเภทใบมากกว่าประเภทหัว เพราะมีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า ทำให้ได้พลังงาน และปริมาณแป้งน้อยกว่า
 5. ทานผักหลายสี ทั้งดำ แดง เขียว ขาว เหลือง เพื่อได้วิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย
 6. ทานผลไม้สด เพราะย่อยง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น แต่มีพลังงานมากกว่าผัก อุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และมีไฟเบอร์ หรือกากใย ช่วยให้การดูดซึมของเสียในลำไส้ได้ดีขึ้น ช่วยขับถ่ายได้ดีขึ้น ท้องไม่อืด ควรเลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย
 7.ทานเห็ดเพื่อสุขภาพ และ"เห็ด"ยังเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายไดอย่างเหลือเชื่อ

  สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร เพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละเพศและวัย
 หนึ่งในเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมในเทศกาลกินเจ คือ เห็ด เพราะนอกจากจะมีรสชาติอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว ยังมีให้เลือกมากมายมาปรุงอาหารและประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแทนเนื้อสัตว์ได้เนื่องจากเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนจากอาหารพืช มีทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ย่าง หรือยำ
 เห็ดมีพลังงานต่ำ 20 แคลอรี และ ไขมัน 0 กรัมต่อ 1 ที่เสิร์ฟ แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพสูง เนื่องจากอุดมไปด้วยคาร์โบ ไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เห็ดที่มีกลุ่มวิตามินบีสูง เช่น ไรโบฟลาวิน ไนอะซิน และกรดแพนโทธีนิก มีวิตามินซี ฟอสฟอรัส โพ แทสเซียม อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของแคลเซียมและวิตามินดีในอาหาร
 การแพทย์แผนตะวันออกมีการใช้เห็ดบำรุงสุขภาพและเป็นยามานานหลายศตวรรษ แต่คุณสมบัติของเห็ดต่อการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเริ่มได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานการศึกษาทางวิชาการจำนวนมาก รวมทั้งวารสารเห็ดทางการแพทย์นานาชาติยืนยันว่าเห็ดทางการแพทย์มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว โดยการปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพเพื่อการต่อต้านเชื้อโรคและเซลล์มะเร็ง
 เห็ดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติพบว่ามีมากถึง 38,000 สายพันธุ์ แต่มีเห็ดเพียงไม่กี่ชนิดที่รับประทานได้และมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าคุณค่าทางโภชนาการ เช่น "เห็ดทางการแพทย์" หรือ Medicinal Mushrooms ปัจจุบันพบว่ามีอยู่ไม่กี่ชนิดที่สำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดหลินจือ เห็ดไมตาเกะ ถั่งเฉ้า เห็ดหอม และ เห็ดเทอร์กี้เทล เป็นต้น ซึ่งนำมาใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ เพิ่มภูมิต้านทาน ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ป้องกันไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ลดการอักเสบ ต้านการแพ้ ควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาล ส่งเสริมระบบการขับพิษจากร่างกาย
 ตัวอย่างเห็ดทางการแพทย์ที่นิยมใช้แพร่หลาย เช่น เห็ดยามา บูชิตาเกะ หรือ เห็ดปุยฝ้าย มีงานวิจัยทางการแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าเห็ดชนิดนี้ให้ผลต่อการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และผิวหนัง แต่เนื่องจากเห็ดชนิดนี้พบได้ยากตามธรรมชาติ เพราะส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตในภูเขาที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ จึงทำให้ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ในระบบปิด
 เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดสมุนไพรที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศจีนและญี่ปุ่นในการรักษาโรคมากมาย สารสำคัญที่พบคือ Triterpenoids และ โพลีแซ็กคาไรด์ สารเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับคอเลสเตอรอล ไปจนถึงการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกที่ผิดปกติ  เมนูจากเห็ดหลินจือที่แนะนำคือ  น้ำเห็ดหลินจือ คุกกี้เห็ดหลินจือเจ
 ถั่งเฉ้า หรือ "หญ้าหนอน" มีการนำมาใช้เป็นยาอย่างแพร่หลาย โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้มากมาย เช่น เสริมภูมิต้านทาน ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้ร่างกายแข็งแรง รักษาภูมิแพ้ แก้เครียด ชาวจีนจึงขนานนามว่า "เห็ดอายุวัฒนะ"  เมนูที่ทำจากถังเฉ้านั้นมีหลายเมนูด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ซุปถั่งเฉ้า โจ๊กถั่งเฉ้า
 เห็ดไมตาเกะ ในญี่ปุ่นมีการใช้เห็ดไมตาเกะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และมีหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าสารสกัดเห็ดไมตาเกะช่วยให้การได้รับเคมีบำบัดขนาดน้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ปกป้องเซลล์ที่แข็งแรงไม่ให้ถูกทำลาย
   เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องบำรุงกำลังลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการไข้หวัด และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็ง ซึ่งเมนูจากเห็ดหอมที่อยากจะแนะนำคือ ซุปเห็ดหอม เห็ดหอมทอดซีอิ๊ว ยำเห็ดหอม เป็นต้น
เห็ดยามาบูชิตาเกะ หรือเห็ดปุยฝ้าย ถือเป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัยญี่ปุ่น เพราะมีการค้นพบว่าเห็ดยามาบูชิตาเกะนี้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และผิวหนัง และยังช่วยสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย ปกติเห็ดชนิดนี้จะเติบโตได้ดีบนภูเขา แต่เมื่อมีการค้นพบสรรพคุณที่มากมายของเห็ดชนิดนี้ ทางญี่ปุ่นจึงได้ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ โดยมีการควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกมากขึ้น
 ประโยชน์ของเห็ดมีมากมายมหาศาล อย่าลืมเมนูเห็ดเจก็แล้วกันนะค่ะ




เอกสารอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น