วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สีสันสวยงาม รสชาติหอมหวาน เนื้อไม่เละ ต้อง มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)

     มะละกอฮอลแลนด์ ให้ผลผลิตเร็ว ประมาณ ๒ เดือนครึ่งก็ออกดอกแล้ว สุกแล้วเนื้อยังแน่นไม่เละ เนื้อหนา มีสีสันสวยงาม รสชาติหอมหวานอร่อย มีลูกที่สวยงามขนาดพอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ ให้ผลผลิตต่อต้นสูง สามารถขายและขนส่งได้ง่ายไม่เสียหาย ลำต้นไม่สูงและทนทานต่อโรค ผู้ปลูกสามารถปลูกแซม ในพืชหลักก่อนให้ผลผลิต หรือปลูกเป็นพืชหลักเพื่อจำหน่าย ผลผลิตโดยตรง รับประทานแล้ว ช่วยระบบขับถ่ายได้ดี
 มะละกอ ฮอลแลนด์ สุกแล้วเนื้อไม่เละ ปลูกเป็น รู้ตลาด  
อาชีพเลือกได้ การปลูกมะละกอ Force8949 1 of 2 

อาชีพเลือกได้ การปลูกมะละกอ Force8949 2 of 2
ลักษณะทั่วไปของมะละฮอลแลนด์    
    มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล

 เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมาก ว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน
ดอกและเพศของมะละกอ    
    หลักการผลิตต้นพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์นั้น คล้ายกับการผลิตสายพันธุ์อื่นคือ ต้องการให้ได้ต้นกระเทย เพราะคุณภาพดี มะละกอมี 3 เพศด้วยกัน คือ มะละกอเพศผู้ ได้จากต้นที่มีดอกตัวผู้  ช่อของดอกยาวอย่างชัดเจน พบไม่บ่อยนัก  หากพบส่วนใหญ่เขาตัดทิ้ง  อีกเพศหนึ่งคือมะละกอตัวเมีย  ลักษณะของดอกจะอ้วนป้อม ได้ผลอ้วนสั้น  เนื้อไม่หนา  เพศสุดท้ายคือ   เพศกระเทย ดอกออกยาว   ผลที่ได้จากเพศนี้  ผลจะยาว  เนื้อหนา ผู้ปลูกมะละกอต้องการแบบนี้  รวมทั้งเก็บไว้ทำเมล็ดพันธุ์ต่อไป
    หลังปลูกมะละกอได้ 3 เดือน มะละกอจะออกดอก จะมีทั้งดอกตัวเมียและกระเทย ก่อนดอกบาน ผู้ปลูกจะต้องห่อดอกกระเทยด้วยมุ้งหรือผ้าขาวบางๆ  เพื่อให้มีการผสมเกสรตัวเอง และไม่ผสมข้ามพันธุ์กับต้นอื่นๆ เมื่อผลมะละกอสุกแก่ก็นำเมล็ดไปเพาะให้ได้ต้นใหม่   ซึ่งจะได้ผลกระเทย 70-80 เปอร์เซ็นต์
 ยัเมล็ดที่ซื้อมาถ้ายังไม่เพาะ ควรเก็บในที่ๆ อุณหภูมิปกติ ไม่โดนแดด อย่าเปิดถุงหากเปิดแล้วควรปิดให้สนิท
ขั้นตอนการเพาะเมล็ด มีดังนี้    
1. เตรียมถุงเพาะ โดยใช้ถุงดำขนาด 2  x  6   นิ้วแบบมีช่องระบายน้ำ สามารถหาซื้อได้
ตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป
2. เตรียมดินเพาะโดยใช้ดินร่วน 4 ส่วน  ผสมแกลบข้าวขาว (ผสมเปลือกถั่ว หรือใบก้ามปูสับ) 6 ส่วน หรือ ในหน้าฝนหากต้องการให้การระบายน้ำดี ใช้ดิน 3 ส่วน แกลบ 7 ส่วน (หากสามารถหาจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มามาผสมได้จะดีมาก)
3. กรอกดินเพาะที่เตรียมไว้ใส่ถุง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  ควรเรียงถุงเพาะไว้ในที่ร่ม ไม่โดนฝน และไม่ควรมีแดดจัดจนร้อนเกินไป
4. แช่เมล็ดในน้ำสะอาด 1 คืน (กรุณาอย่าใส่น้ำยาอะไรเพิ่มเติมลงไป ถ้าไม่เชื่อกรุณาอ่านประสบการณ์ลูกค้าท่านอื่นด้านล่างต่อไป)
5. นำเมล็ดที่แช่น้ำ ใส่ลงในถุงเพาะ โดยกดเมล็ดให้จมลงไปในดินประมาณ 1 เซนติเมตร ใส่เมล็ดถุงละ 3 ถึง 5 เมล็ด
6. รดน้ำพอให้ชุ่มวันละ 2 ครั้งช่วงเช้ากับบ่าย
7. ประมาณ 2-4 อาทิตย์ (แล้วแต่ฤดูกาล) ต้นอ่อนจะโผล่ขึ้นมา ให้ระวังมด แมลง นก และหนูมากินต้นอ่อน
8. ในแต่ละถุงอาจจะมีต้นอ่อนได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ต้น ห้ามแยกต้นในถุงเดียวกันออกจากกันโดยเด็ดขาด
9. ในช่วงที่เป็นต้นอ่อน ให้ระวังอย่ารดน้ำมากเกิน จะทำให้รากเน่าตายได้ สังเกตใบจะเหลืองและต้นเหี่ยวลงไป และอย่าให้โดดแดดจัดเกินไป จะทำให้ต้นแห้ง ใบไหม้  และอย่าให้ปุ๋ยหรือฉีดปุ๋ยทางใบ
10. เมื่อต้นอ่อนโตได้ประมาณ 3 อาทิตย์ ใบจริง 3-4 ใบ ให้นำไปปลูกในแปลงต่อไป
11. ควรนำต้นอ่อนลงปลูกในช่วงอายุไม่เกิน 1-1.5 เดือน (ใบจริง 3-4 ใบ) หากต้นอ่อนอายุมากกว่านั้น อัตราการรอดหลังจากปลูกจะต่ำ และโตช้ากว่าต้นอ่อนที่อายุไม่เกิน 1 เดือน

วิธีการปลูกมะละกอฮอลแลนด์    

    สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15

     ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น
    เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่  วิธีการเก็บเกี่ยวนั้น เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย

 ส่วนผู้ที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ลองสอบถามไปที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่เบอร์โทรศัพท์ 0-5452-1387

เอกสารอ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น